วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ที่สุดในประเทศไทย


จังหวัดที่อยู่เหนือสุด
จังหวัดเชียงราย
จังหวัดที่อยู่ใต้สุด
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดที่มีพื้นที่น้อยที่สุด
จังหวัดสมุทรสงคราม (มีพื้นที่ 399 ตร.กม.)
จังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุด
จังหวัดเชียงใหม่ (มีพื้นที่ 22,993 ตร.กม.)
จังหวัดที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด
จังหวัดระนอง
จังหวัดที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
จังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับเขตจังหวัดอื่นๆมากที่สุด
จังหวัดตาก มีเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นๆ 9 จังหวัด
จังหวัดทางภาคใต้ของไทย ที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลเลย
จังหวัดยะลา,พัทลุง
ยอดเขาที่สูงที่สุด
ยอดดอยอินทนนท์ สูง 2,580 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ภูเขาสำคัญทางภาคเหนือ
มี 5 เทือกเขาสำคัญคือ แดนลาว,เพชรบูรณ์,ตะนาวศรี,ผีปันน้ำ,ขุนตาล
ภูเขาที่ใหญ่ที่สุดทางภาคใต้
เทือกเขานครศรีธรรมราช
เกาะที่ใหญ่ที่สุดของไทย
เกาะภูเก็ต กว้าง 20 กม. ยาว 45 กม.
เกาะที่เป็นท่าเรือสำคัญของไทย
เกาะสีชัง
ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุด
ทะเลสาบสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 15 ตร.กม.
หนองน้ำที่ใหญ่ที่สุด
หนองหาร อยู่ที่จังหวัด สกลนคร
แม่น้ำที่ยาวที่สุด
แม่น้ำเจ้าพระยา รวมกับแม่น้ำปิง (หนึ่งในต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา) มีความยาวรวม 850 กม.(เจ้าพระยา 300 กม.,แม่น้ำปิง 550 กม.)
แม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลที่
จังหวัดสมุทรปราการ
คลองที่ยาวที่สุด
คลองแสนแสบ ยาว 65 กม.
แหล่งเพาะพันธุ์ปลาที่ใหญ่ที่สุด
บึงบรเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
น้ำตกที่สูงที่สุด
น้ำตกสิริภูมิ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
ถนนสายแรกในประเทศไทย
ถนนเจริญกรุง สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5
ถนนสายที่ยาวที่สุด
ถนนเพชรเกษม จากกรุงเทพมหานคร ถึง จ.นราธิวาส ยาว1,473 กม.
ทางรถไฟสายแรกของไทย
ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปากน้ำ
ทางรถไฟสายที่ยาวที่สุด
ทางรถไฟสายใต้ ยาวประมาณ 1,114 กม.
อุโมงค์ที่ยาวที่สุด
อุโมงค์ขุนตาล หรือ ถ้ำขุนตาล ที่ จ.ลำปาง
สะพานที่ยาวที่สุดของไทย
สะพานติณสูลานนท์ จ.สงขลา ข้ามมาจากบ้านเขาเขียวไปเกาะยอ และจากเกาะยอไปบ้านน้ำกระจาย มีความยาว 2,640เมตร
วนอุทยานแห่งชาติที่อยู่สูงที่สุด
ภูกระดึง จ.เลย
ตึกที่สูงที่สุดของไทย
ตึกธนาคารกรุงเทพจำกัด สำนักงานใหญ่ ถ.สีลม กทม. สูงถึง 33 ชั้น แต่ปลายปี 2529 นี้ตึกใบหยกทาวเวอร์(กำลังก่อสร้าง)ซึ่งอยู่หลังดรงแรมอินทราประตูน้ำ กทม.จะเป็นตึกที่สูงที่สุด เนื่องจากมีความสูงถึง 41 ชั้น
ส่วนที่แคบที่สุดของไทย
บริเวณ คอคอดกระ จ.ประจวบคีรีขันธ์ กว้างประมาณ 10กม.
จังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุด
จ.ระนอง
จังหวัดที่ปลูกชากันมาก
จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่
จังหวัดที่ปลูกอ้อยมากที่สุด
จ.กาญจนบุรี
จังหวัดที่ผลิตเกลือได้มากที่สุด
จ.สมุทรสาคร
จังหวัดที่ปลูกพริกไทยมากที่สุด
จ.จันทบุรี
มะพร้าวมีมากที่สุดที่
เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
ส้มโอลือชื่อของไทยปลูกที่
อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
ดีบุกขุดได้มากที่สุดที่
จ.ภูเก็ต
จังหวัดที่ปลูกเงาะมากที่สุด
จ.จันทบุรี
เงาะโรงเรียนที่มีชื่อปลูกที่
จ.สุราษฎร์ธานี
โรงงานน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่
อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี
โรงงานอุตสาหกรรมแป้งมัน ทำมากที่สุดที่
จ.ชลบุรี
หวายของไทยมีมากที่สุดที่
จ.ชุมพร
จังหวัดที่มีแร่วุลแฟลมมากที่สุด
จ.กาญจนบุรี
นกนางแอ่น มีมากที่สุดที่
จ.ชุมพร
หินอ่อนในประเทศไทยมีมากที่
จ.สระบุรี
ภาคใดของประเทศไทยมีการเลี้ยงไหมมากที่สุด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคใดของประเทศไทยมีการเลี้ยงไหมมากที่สุด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ถ่านหินมีมากที่
จ.ลำปาง และ จ.กระบี่
ส้มเขียวหวาน ที่นิยมกันว่ามีรสชาดดีอยู่ที่
อ.บางมด กรุงเทพมหานคร
ทองคำมีมากที่
อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์,อ.โต๊ะโมะ จ.ยะลา และ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
จังหวัดทางภาคใต้ของไทยที่มีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่มาก
จ.ปัตตานี,จ.ยะลา,จ.นราธิวาส และ จ.สตูล
ปลาที่ชาวประมงจับได้มากที่สุด
ปลาทู
ปลาที่ใหญ่ที่สุดในลำน้ำโขง
ปลาบึก
กษัตริย์ไทยพระองค์แรก
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
สมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของเมืองไทย(กรุงรัตนโกสินทร์)
สมเด็จพระสังฆราชศรี วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี
ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของไทย
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงคนแรกของไทย
นางอรพินท์ ไชยกาล
อธิบดีหญิงคนแรกของไทย
คุณหญิงอัมพร มีศุข อธิบดีกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
จอมพลคนแรกของเมืองไทย
จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช
นักดาราศาสตร์คนแรกของไทย
รัชกาลที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
นางสาวไทยคนแรก
นางสาวกันยา เทียนสว่าง
นักมวยไทยคนแรกที่ได้ครองตำแหน่งแชมป์โลก
นายโผน กิ่งเพชร
นักพากย์ภาพยนตร์คนแรกของไทย
นายสิน สีบุญเรือง (ทิดเขียว)
นักเขียนการ์ตูนคนแรกของไทย
ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น)
ผู้คิดประดิษฐ์อักษรไทยเป็นคนแรก
พ่อขุนรามคำแหง
ผู้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นคนแรก
ร้อยโท เจมส์ โลว์
ผู้เริ่มใช้กระแสไฟฟ้าคนแรกของไทย
จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เติม แสงชูโต)
ผู้เปิดเดินรถเมล์ในกรุงเทพมหานครเป็นคนแรก
พระยาเศรษฐภักดี
ผู้ประดิษฐ์สามล้อขึ้นใช้ในประเทศไทยเป็นคนแรก
นายเลื่อน พงษ์โสภณ
ผู้ให้กำเนิดลูกเสือไทยเป็นคนแรก
รัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ผู้ริเริ่มแท็กซี่ขึ้นในเมืองไทย
พลโท พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
เมื่อปี พ.ศ.2466
ผู้ที่ริเริ่มใช้คำว่า "สวัสดี"
พระยาอุปกิตศิลปสาร
ผู้ให้กำเนิดเพลงชาติ
พระเจนดุริยางค์ (บรรเลงครั้งแรกโดย วงดุริยางค์ทหารเรือ)
ผู้ให้กำเนิดเพลงสรรเสริญพระบารมี
กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ผู้แต่งเพลงกราวกีฬา
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย"
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งการแพทย์ไทย"
สมเด็จพระราชบิดากรมหลวงสงขลานคริทร์
ฝาแฝดคู่แรกของไทย
ฝาแฝด อิน-จัน เกิดเมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2434 ที่ จ.สมุทรสงคราม
ผู้ที่ริเริ่มใช้ รศ.(รัตนโกสินทร์ศก)
รัชกาลที่5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ร.ศ.1 ตรงกับปี พ.ศ.ใด
พ.ศ.2331
เรือกลไฟลำแรกของไทย
เรือสยามอรสุมพล (เป็นเรือที่รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้พระยาศรีสุริยวงศ์ ต่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2398)
โรงพยาบาลแห่งแรกของไทย
โรงพยาบาลศิริราช
มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของประเทศไทย
โรงเรียนอนุบาลที่โรงเลี้ยงเด็ก ซึ่งพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ พระอัครชายาในรัชกาลที่5 เป็นผู้ให้กำเนิด
ธนาคารเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย
แบงก์ สยามกัมมาจล
โรงภาพยนตร์โรงแรกใน กทม.ที่ฉายภาพยนตร์จอซีนีมาสโคป
โรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมไทย
โรงแรมแห่งแรกของไทย
โรงแรมโอเรียนเต็ล
โรงพิมพ์แห่งแรกของไทย
โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ ตั้งอยู่ที่สำเหร่ ธนบุรี
บทประพันธ์ที่ทำการขายลิขสิทธิ์กันในครั้งแรกในประเทศไทย
เรื่อง นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย ขายลิขสิทธิ์ให้กับหมอบรัดเลย์
แบบเรียนเล่มแรกของคนไทย
หนังสือจินดามณี ที่พระโหราธิบดี เป็นผู้แต่ง
หนังสือไทยเล่มแรก
หนังสือไตรภูมิพระร่วง
หนังสือพิมพ์ข่าวฉบับแรกของเมืองไทย
หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอดเดอร์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ.2387
ปฎิทินฉบับภาษาไทย จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ
ปี พ.ศ.2385
วิทยุ โทรทัศน์ มีขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ
ปี พ.ศ.2497(สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม)
สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทย
สถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม (ปัจจุบันคือ อสมท.ช่อง9)
โรงเรียน "หลวง" สำหรับราษฎรแห่งแรก คือ
โรงเรียน วัดมหรรณพาราม
สภากาชาด ตั้งขึ้นเมื่อไหร่
ตั้งขึ้นในรัชกาลที่6 เดิมชื่อ สภาอุณาโลมแดง
เจดีย์ที่เก่าแก่ และใหญ่ที่สุด
พระปฐมเจดีย์ ที่ จ.นครปฐม
พระปรางค์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย
พระปรางค์ที่วัดอรุณราชวราราม(วัดแจ้ง ธนบุรี)
พระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดของไทย
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ประดิษฐานที่วัดไตรมิตรวิทยาราม กทม.(หนัก 5 ตัน)
พระพุทธไสยาสน์ ที่ยาวที่สุด
พระพุทธไสยาสน์ ที่วัดพระนอน จ.สิงห์บุรี
พระพุทธรูปยืนที่สูงที่สุด
พระพุทธรูปยืนที่วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพฯ
พระนอนที่ยาวที่สุด
พระนอนที่วัดขุนอินทรประมูล จ.อ่างทอง
พระพุทธรูปนั่งที่ใหญ่ที่สุด
พระพุทธโคดม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี
วัดที่มีระฆังใบใหญ่ที่สุด
วัดกัลยากรณ์ กรุงเทพมหานคร
วัดที่ไม่มีพระจำพรรษาเลย
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
จังหวัดที่เคยมีรถรางเดินประจำนอกจากกรุงเทพฯแล้วคือ
จ.ลพบุรี
วัดไทยที่สร้างเลียนแบบวัดฝรั่ง
วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ บางปะอิน จ.อยุธยา (รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น)
กระทรวงต่างๆมีขึ้นในรัชกาลใด
รัชกาลที่ 5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตยเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อใด
ปี พ.ศ.2475 ในรัชกาลที่ 7
ประเทศไทยเริ่มใช้ธงไตรรงค์เมื่อ
ปี พ.ศ.2460
ประเทศไทยเริ่มนับเอาวันที่ 1 เดือนมกราคมเป็นวันปีใหม่เมื่อ
ปี พ.ศ.2483
ประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติเมื่อ
วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2489
ประเทศไทย เปลี่ยนจากเดิมเรียกว่า "ประเทศสยาม" มาเป็น "ประเทศไทย" เมื่อ
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2492
ประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยนั้น ตรงกับรัชกาลใดของไทย
รัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ประเทศไทยเลิกใช้เงินพดด้วงแล้วเริ่มใช้เหรียญกษาปณ์เมื่อใด
ในสมัยรัชกาลที่ 4
กระทรวงการคลัง เริ่มออกพันธบัตรใช้ตั้งแต่รัชกาลใด
รัชกาลที่ 5
คนไทยเริ่มใช้นามสกุลเมื่อใด
ในสมัยรัชกาลที่ 5
การประปาเริ่มมีขึ้นในรัชกาลใด
ในสมัยรัชกาลที่ 5
สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เปิดสัญจร ไป-มา เมื่อใด
วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2475
พระราชวังสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานีคือ
พระราชวังเดิม อยู่ระหว่างวัดอรุณราชวราราม กับวัดโมฬีโลกยาราม
เขาพระวิหาร เดิมตั้งอยู่ที่ไหนก่อนถูกเขมรฟ้องร้องกลับคืนไป
เดิมตั้งอยู่ที่ อ.กันทราลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ
เครื่องหมายตราประจำชาติไทย
ตราครุฑ
ประเพณีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา เริ่มมีครั้งแรกในสมัยใด
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ประเทศไทยเริ่มใช้แสตมป์เมื่อใด
ปี พ.ศ.2474
ผู้ที่เปลี่ยนชื่อ "ทุ่งพระเมรุ" เป็น "ท้องสนามหลวง" คือ
รัชกาลที่ 5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
คิงส์มงกุฎ หมายถึง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าของนามปากกา "น.ม.ส." คือ
รัชนี แจ่มจรัส
คำว่า พระปรมินทร์ และ พระปรเมนทร์ มีที่ใช้ต่างกันอย่างไร
พระปรมินทร์ ใช้กับ ลำดับรัชกาลที่เป็นเลขคี่
พระปรเมนทร์ ใช้กับ ลำดับรัชกาลที่เป็นเลขคู่
กฎมณเฑียรบาล คือ
กฎหมายพิเศษที่กล่าวถึง พระราชฐาน และพระราชวงศ์
ใครเป็นผู้ประพันธ์ บทเห่เรือ ที่ใช้เห่เรือกระบวนหลวงในปัจจุบัน
เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์(เจ้าฟ้ากุ้ง)
กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเมื่อใด
ปี พ.ศ.2325
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) สร้างขึ้นในรัชสมัยใด
รัชกาลที่ 1 (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)
สถาบันที่จัดทำสารานุกรมไทย และพจนานุกรมไทยคือ
ราชบัณฑิตยสถาน
นายกรัฐมนตรีไทยคนใดที่ตกเป็นจำเลย "อาชญากรสงครามโลกครั้งที่2
จอมพล ป.พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรีที่เป็นทนายต่อศาลโลก กรณีเขมรฟ้องร้องขอกรรมสิทธิ์เขาพระวิหารคือ
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
หัวหน้าขบวนการเสรีไทย นอกประเทศระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
กบฎแมนฮัตตัน เกิดขึ้นในรัฐบาลใด
รัฐบาลสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เกิดขึ้นในวันที่มีพิธีรับมอบเรือแมนฮัตตัน จากสหรัฐอเมริกา ที่ท่าราชวรดิษฐ์
"อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ"สร้างขึ้นเพื่อ
เป็นอนุสรณ์รำลึกถึงวันที่ทหารและพลเรือนเสียชีวิตในสงครามอินโดจีน ปี พ.ศ.2484
"วงเวียน 22 กรกฎาคม" สร้างขึ้นเพื่อ
เป็นอนุสรณ์เนื่องในวันที่ประเทศไทย ประกาศสงครามเข้าร่วมกับพันธมิตร รบกับเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่1
ปืนใหญ่สมัยโบราณ ที่ตั้งรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมีจำนวนเท่าไร
75 กระบอก
นพรัตน์ หรือแก้วเก้าประการ ประกอบด้วย
เพชร,ทับทิม,มรกต,บุษราคัม,โกเมน,นิล,มุกดาหาร,เพทาย,ไพฑูรย์
ต้นไม้ที่คนไทยโบราณเชื่อว่า ปลูกไว้ในบ้านแล้วจะเป็นมงคล
ต้นมะยม เพราะ จะทำให้คนนิยม

ต้นขนุน เพราะ จะทำให้ผู้สนับสนุน

ต้นมะขาม เพราะ จะทำให้ผู้คนเกรงขาม

ต้นพุทธรักษา เพราะ ปลูกแล้วพุทธานุภาพจะคุ้มครองบ้านนั้น
ต้นไม้ที่คนไทยโบราณไม่นิยมปลูกไว้ในบ้าน
ต้นลั่นทม เพราะ ชื่อต้นไม้ไปพ้องคำว่า ระทม

ต้นมะไฟ เพราะ มีคำว่ามะไฟ จะทำให้เดือดร้อนเหมือนไฟ

ต้นพุทรา เพราะ เสียงออกเป็นซา ซึ่งหมายถึงความร่วงโรย
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น